ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟแวร์คอมพิวเตอร์


บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์

ความหมายของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานของคนทำงานได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ซึ่งถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีเพียงเฉพาะตัวอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์อยู่เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำงานได้เป็นได้เพียงวัตถุชิ้นหนึ่งเท่านั้น การที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ในการสั่งให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สำหรับในที่นี่จะกล่าวถึงการแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์ ลักษณะย่อยของซอฟต์แวร์แต่ละประเภท การจำแนกประเภทของซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งาน และการพิจารณาซอฟต์แวร์ตามหลักของลิขสิทธิ์
ประเภทของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เป็นชุดคำสั่งที่บุคคลพัฒนาขึ้นเพื่อสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำงาน สำหรับการจำแนกตามลักษณะเป้าหมายในการใช้งานหลักๆ แล้ว สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และสนับสนุนให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ทำงาน ตามที่บุคคลต้องการจริง เช่น การพิมพ์งาน การตัดแต่งภาพ เป็นต้น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

      ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
      ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ ใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ กล่าวได้ว่า ซอฟต์แวร์ดเป็นสิ่งที่ผู้ใช้มองไม่เห็นและสัมผัสไม่ได้ แต่สามารถรับรู้การทำงานได้ แตกต่างจากฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ ซึ่งชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นเรียกว่า โปรแกรม เช่นโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word) โปรแกรมอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ (Internet Explorer) เป็นต้น ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Applixction Software) เป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน                                                                 เฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น